เมนู

เท่านั้น) ดุจที่ประทับแรมมีไว้สำหรับพระราชาฉะนั้น และด้วยเหตุ
นั้นนั่นแหละ ภูมินั้น ท่านจึงมิได้จัดเป็นวิญญาณฐิติ ทั้งมิได้จัดเป็น
สัตตาวาส แต่ความสำคัญเหล่านี้มีอยู่ทุกเมื่อ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงภูมิ
ของความสำคัญเหล่านั้น ซึ่งมีอยู่ในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ละชั้นสุทธาวาสแล้วตรัสคำเป็นต้นว่า อากาสานญฺจายตนํ ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากาสานญฺจายตนํ ได้แก่ขันธ์ 4
ที่เป็นกุศลวิบาก และกิริยาอันเป็นไปในอากาสานัญจายตนภูมินั้น. และ
ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น พึงเห็นว่า เกิดขึ้นในภูมินั้นนั่นแหละ เพราะเหตุว่า
กถานี้เป็นการกล่าวถึงกำหนดภพ. ในวิญญาณัญจายตนะเป็นต้น ก็นัยนี้
ก็ในบรรดาวาระ 4 วาระนั่นแล การขยายความพึงทราบโดยนัยที่กล่าว
ไว้ในอภิภูวาระ และความสำคัญด้วยอำนาจแห่งมานะ ในข้อนี้ ย่อมใช้
ได้แม้โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในปชาบดีวาระ.

แก้บท ทิฏฺฐํ สุนํ มุตํ วิญฺญาตํ


พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงที่ตั้งของความสำคัญ โตย
ประเภทมีความแตกต่างกันระหว่างภูมิเป็นตันนั้น แม้โดยพิสดารอย่าง
นี้แล้ว ดังนี้ เมื่อจะประมวลแสดงประเภทแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ 3
อันนับเนื่องในสักกายทิฐิ อันเป็นที่ตั้งแห่งความสำคัญทั้งหมด ด้วยเหตุ
4 อย่าง มีรูปารมณ์ที่ตนเห็นเป็นต้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ทิฏฺฐํ
ทิฏฺฐโต
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐํ หมายถึงสิ่งที่มองเห็นด้วยมังส-
จักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง. คำว่า ทิฏฺฐํ นั้นเป็นชื่อของรูปายตนะ. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐํ มญฺญติ ความว่า ปุถุชนย่อมสำคัญด้วย
ความสำคัญทั้ง 3.
อย่างไร ? คือ ปุถุชนเมื่อดูรูปายตนะด้วยสุภสัญญาและสุขสัญญา
ชื่อว่า ย่อมยังฉันทราคะให้เกิดในรูปาตนะนั้น คือย่อมยินดีเพลิดเพลิน
ซึ่งรูปายตนะนั้น สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดังนี้
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย กำหนัดยินดี หลงใหล
ติดใจในรูปหญิง สัตว์เหล่านั้น ตกอยู่ในอำนาจของรูปหญิง ย่อม
เศร้าโศกสิ้นกาลนาน
ดังนี้. ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมสำคัญรูปารมณ์ที่ตน
เห็นแล้วด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาอย่างนี้ ก็หรือว่า ปุถุชนย่อม
ทะยานอยากในรูปนี้ว่า ขอรูปของเราพึงเป็นอย่างนี้ตลอดกาล หรือว่า
ปุถุชนเมื่อหวังรูปสมบัติ ย่อมให้ทาน ความพิสดารดังว่ามานี้แล. ปุถุชน
ย่อมสำคัญรูปารมณ์ที่ตนเห็นแล้วด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาแม้
อย่างนี้.
อนึ่ง ปุถุชนอาศัยรูปสมบัติและรูปวิบัติของตน และของบุคคลอื่น
ย่อมยังมานะให้เกิด คือ ย่อมสำคัญรูปารมณ์ที่ตนเห็นด้วยความสำคัญด้วย
อำนาจมานะอย่างนี้ว่า เราดีกว่าผู้นี้ เราเสมอกับผู้นี้ หรือว่า เราเลวกว่า
ผู้นี้ ดังนี้.
อนึ่ง ปุถุชนย่อมสำคัญรูปายตนะว่า เที่ยง ยั่งยืน แน่นอน
ย่อมสำคัญว่าเป็นอัตตา เนื่องในอัตตา ย่อมสำคัญในรูปาตนะที่เป็น
มงคล ว่าเป็นอมงคล ปุถุชนย่อมสำคัญรูปายตนะที่ตนเห็นด้วยความสำคัญ
ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้.
ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมสำคัญรูปายตนะที่ตนเห็นด้วยความสำคัญทั้ง 3
ด้วยประการฉะนี้.

ย่อมสำคัญในรูปายตนะที่ตนเห็นแล้วอย่างไร ? คือ ปุถุชนเมื่อ
สำคัญโดยนัยพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ชื่อว่า ย่อมสำคัญในรูปายตนะที่ตน
เห็น. แม้สำคัญอยู่ว่า ราคะเป็นต้น ย่อมเกิดมีในรูป เหมือนกับน้ำนม
เกิดมีในเต้านมฉะนั้น ชื่อว่า ย่อมสำคัญในรูปายตนะที่ตนเห็น. นี้ชื่อว่า
ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น.
อนึ่ง เมื่อปุถุชนนั้น ยังความเสน่หาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุ
ที่สำคัญด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐินั้นนั่นแล. พึงทราบว่า เป็น
ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาและมานะด้วย. ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมสำคัญ
ในรูปายตนะที่ตนเห็น ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่
กล่าวไว้แล้วในปฐวีวาระ.
บทว่า สุตํ หมายถึงได้ยินด้วยมังสโสตบ้าง ทิพยโสตบ้าง. คำว่า
สุตํ นั่น เป็นชื่อของสัททายตนะ.
บทว่า มุตํ ได้แก่ทราบ และรู้แล้วรับเอา อธิบายว่า เข้าไป
กระทบรับเอา. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า รู้แจ้ง ในเพราะการประจวบกัน
แห่งอินทรีย์ และอารมณ์ทั้งหลาย.
คำว่า มุตํ นั่น เป็นชื่อของคันธายตนะ รสายตนะ และโผฏ-
ฐัพพายตนะ.
บทว่า วิญฺญาตํ แปลว่า รู้ทางใจ. และคำว่า วิญฺญาตํ นั่น
เป็นชื่อของอายตนะ 7 เหลือ. อีกอย่างหนึ่ง เป็นชื่อของธรรมารมณ์
(ก็ได้) แต่ในที่นี้ได้เฉพาะอารมณ์ที่นับเนื่องในกายของตน. (สักกาย-
ทิฏฐิ)
ก็ในข้อนี้ พึงทราบความพิสดารโดยนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในทิฏฐวาระ.

แก้บท เอกตฺตํ นานตฺตํ


พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงประเภทแห่งสักกายทิฏฐิทั้ง-
หมดด้วยอารมณ์ 4 ประการ มีรูปารมณ์ที่ตนเห็นแล้วเป็นต้นอย่างนี้
แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงประเภทของสักกายทิฏฐินั้นนั่นแหละ ออก
เป็น 2 ประการ คือ โดยวาระของท่านผู้เข้าสมาบัติ 1 ของท่านผู้มิได้
เข้าสมาบัติ 1 จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เอกตฺตํ นานตฺตํ ดังนี้.
ด้วยบทว่า เอกตฺตํ นี้ พระองค์ทรงแสดงวาระของท่านผู้เข้าสมาบัติ.
ด้วยบทว่า นานตฺตํ นี้ พระองค์ทรงแสดงวาระของท่านผู้มิได้เข้า
สมาบัติ.
ทั้ง 2 คำนั้น มีความหมายเฉพาะคำดังต่อไปนี้ :-
ภาวะที่เป็นหนึ่งชื่อว่า เอกัตตัง ภาวะที่แยกกัน ชื่อว่า นานัตตัง.
ส่วนการขยายความในข้อนี้ บัณฑิตพึงแยกวาระของท่านผู้เข้า
สมาบัติด้วยขันธ์ 4 และวาระของท่านผู้มิได้เข้าสมาบัติด้วยขันธ์ 5 แล้ว
พิจารณาทราบตามสมควรโดยศาสนนัย (พระบาลี) เป็นต้นว่า ปุถุชน
ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยเป็นอัตตา และโดยนัยแห่งอรรถกถาที่ท่านกล่าว
ไว้ในปฐวีวาระเป็นต้น. ส่วนอาจารย์บางพวกย่อมกล่าวเอกัตตนัย ด้วย
บทนี้ว่า เอกตฺตํ. กล่าวนัยที่แยกกัน ด้วยบทนี้ว่า นานตฺตํ ดังนี้.
อาจารย์พวกอื่นกล่าวความยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาย่อมมี
สัญญาอันเดียวกันไม่สูญสลาย ครั้นตายแล้วอัตตาย่อมมีสัญญาต่างกัน.
คำนั้นทั้งหมด ย่อมไม่ถูกเลย เพราะท่านมิได้ประสงค์เอาในที่นี้.